อีเมล: info@tdha.or.th ฮอตไลน์: 081-806-1777 โทร: 02-312-3888
อ้างอิงจากข้อมูลของ WHO เมื่อวันที่ 27/1/65 การระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้วกว่า 360,578,392 เคสทั่วโลก โดยมียอดผู้เสียชีวิตถึง 5,620,865 คน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ตอนนี้ ตั้งแต่วันที่ 3/1/65 ถึง 27/1/65 มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันสะสม 2,407,022 เคส ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมมีจำนวน 22,098 คน
ปัจจุบันเชื้อไวรัส covid-19 มีหลายสายพันธุ์ มีการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์จากเชื้อที่ผสมกันของแต่ละประเทศ
โดย เชื้อไวรัสที่พบ ณ ปัจจุบัน มีดังนี้
- ไวรัสที่พบในไทย
- สายพันธุ์แกมม่า 1 รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลี่ยงภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพวัคซีน
- สายพันธุ์อัลฟ่า 1.1.7 เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70%
- สายพันธุ์เดลต้า 1.617 ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
- สายพันธุ์เบต้า 1.351 ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้
- สายพันธุ์โอมิครอน 1.1.529 มีอาการคล้ายเดลต้า แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
- ไวรัสที่ต้องเฝ้าระวัง
- สายพันธุ์เอปซิลอน 1.427 / B.1.429
- สายพันธุ์เซต้า 2
- สายพันธุ์อีต้า 1.525
- สายพันธุ์ทีต้า 3
- สายพันธุ์ไอโอต้า 1.526
- สายพันธุ์แคปป้า 1.617.1
นอกจากนี้ จากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย เรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่าเดลต้าพลัส (AY.1) โดยคาดว่าเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งความแตกต่างระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ Delta Plus VS Delta คือ สายพันธุ์ Delta Plus นั้น จะมีการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า
นอกจากการกลายพันธุ์ของ Delta ไปเป็น Delta Plus แล้ว ยังมีการกำเนิด Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lampda) ซึ่งสายพันธุ์นี้ แพร่เชื้อได้เร็ว และอันตรายกว่า Delta โดย Covid-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lampda) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ “C.37” มีการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู และระบาดในประเทศแถบภูมิภาคละตินอเมริกา
ทาง WHO ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด จึงจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI) เนื่องจากคาดว่า Covid-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lampda) นี้
- ความรุนแรงเมื่อติดเชื้อมากกว่าสายพันธุ์อื่น
- แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น
- เลี่ยงประสิทธิภาพวัคซีนได้ดีมากขึ้น
(แต่จากการวิจัยของสหรัฐฯ พบว่า วัคซีน mRNA ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์แลมบ์ดาได้ดีอยู่)